เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (8)
[37] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่าง
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ 40 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์

1. โดยความไม่เที่ยง 2. โดยความเป็นทุกข์
3. โดยความเป็นโรค 4. โดยความเป็นดังหัวฝี
5. โดยความเป็นดังลูกศร 6. โดยเป็นความลำบาก
7. โดยเป็นอาพาธ 8. โดยเป็นอย่างอื่น
9. โดยเป็นของชำรุด 10. โดยเป็นอัปปมงคล
11. โดยเป็นอันตราย 12. โดยเป็นภัย
13. โดยเป็นอุปสรรค 14. โดยเป็นความหวั่นไหว
15. โดยเป็นของผุพัง 16. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน
17. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน 18. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
19. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง 20. โดยเป็นความว่างเปล่า
21. โดยความเปล่า 22. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง)
23. โดยเป็นอนัตตา 24. โดยเป็นโทษ

25. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา
26. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :598 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา

27. โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก 28. โดยเป็นดังเพชฌฆาต
29. โดยเป็นความเสื่อมไป 30. โดยเป็นของมีอาสวะ
31. โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง 32. โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร

33. โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
34. โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา
35. โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
36. โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา
37. โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
38. โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา
39. โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
40. โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
[38] 1. ภิกษุเมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
2. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสุข” ย่อมหยั่งสู่
สัมมัตตนิยาม
3. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
4. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังหัวฝี”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
5. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :599 }